วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หน้าแรก

บทนำ
          มนุษยสมัยโบราณไดจํ าลองสิ่งที่พบเห็นรอบ ๆ ตัว โดยการขีดเขียนไวตามผนังถํ้ าที่ตน
อาศัยอยู ลักษณะของภาพเปนเพียงเคาโครงอยางงาย มีลายเสนไมกี่เสนคลายการตูนหัวไมขีด
ภาพเหลานี้เปนเสมือนสมุดภาพเลมใหญ ที่บันทึกวิถีชีวิตความเปนอยู ความเชื่อ ที่ตนมีไวใหผู
คนในสมัยตอมา ไดศึกษาความเปนมาตอไป
          สิ่งมีชีวิตในโลกไดมีการวิวัฒนาการอยางไมหยุดยั้ง ชีวิตที่ออนแอลาหลังไมอาจดํ ารง
เผาพันธุอยูได ความพยายามบันทึกภาพตาง ๆ ในอดีต โดยการเขียนจนไดรับการพัฒนาเครื่อง
มือใหมาเปนกลองถายภาพในปจจุบัน
          ภาพถายไดเขามาเกี่ยวของอยางมาก ในชีวิตประจํ าวันของคนเรา ไมวาจะดวยขอดีใน
สวนของตัวมันเอง ที่ใหการรับรูไดอยางมีประสิทธิภาพ หรือความกาวหนาดานเทคโนโลยีการ
ถายภาพ ไดรับการพัฒนาใหรุดหนาอยางไมหยุดยั้ง ไมวาจะเปนกลองถายภาพ ฟลมและ
อุปกรณใชงานไดงาย ราคาไมแพงและมีคุณภาพสูง มีระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติเขามาชวย
อีกแรง จึงมักพบเห็นภาพปรากฏอยูทั่วไปทั้งในบาน โรงเรียน ตามทองถนน อาจอยูในรูปของ
ปฏิทิน หนังสือเรียน ภาพโฆษณา ฯลฯ

วัตถุประสงค์
1. ภาพถายชวยเราความสนใจผูเรียน ทํ าใหเกิดความกระตือรือรนที่จะเรียน
2. สามารถนํ าเหตุการณ สถานที่ที่อยูหางไกล เขามาใหนักเรียนไดเห็นในหองเรียนได
3. ภาพถายสามารถนํ ามาดูซํ้ ากี่ครั้งก็ไดตามตองการ หรือใชเพื่อทบทวนเตือนความจํ า
 ทั้งนี้เพราะภาพถ ายเปนสื่อทางตา รับรูไดดีกวาประสาทสัมผัสอื่น ๆ และมีความ 
 คงทนถาวรกวา
4. เหตุการณที่เกิดขึ้นในอดีต สามารถบันทึกเปนภาพถาย เพื่อนํ ามาศึกษาไดทั้งใน
 ปจจุบันและอนาคต
5. สิ่งที่เคลื่อนไหวอย างรวดเร็ว จนสายตาของคนเราไม สามารถมองตามทัน แต
 กลองถ ายภาพสามารถบันทึกการเคลื่อนไหว และนํ าภาพถ ายนั้นมาศึกษาราย
 ละเอียดได
6. เนื่องจากภาพถายมีความคงทน จึงสามารถใชไดทุกโอกาสที่ตองการโดยไมจํ ากัด
เวลา เปนการประหยัดงบประมาณ
7. ภาพถายสามารถทํ าสํ าเนาไดมากเทาที่ตองการ แจกจายไปตามสถานศึกษาอื่น ๆ
ได
8. ภาพถายทํ าใหผูเรียนเขาใจตรงกัน เพียงคํ าอธิบายของครู นักเรียนอาจเขาใจผิด
ได เชน ครูตองการใหนักเรียนรูจักชาง วามีรูปรางอยางไร คํ าอธิบายเพียงอยาง
เดียว จะตองใชเวลามากและอาจเขาใจไมตรงกัน ถาครูนํ าภาพมาใหดู ก็หมด
ปญหา
9. เราสามารถดัดแปลงรูปภาพ เพื่อใชในดานการเรียนการสอน ใหตรงตามจุดมุง
 หมาย เชน นํ าภาพถ ายไปทํ าเปนภาพลายเสน เพื่อการอธิบายที่งายยิ่งขึ้น

สำหรับ
สำหรับนิสิตเอกเทคโนโลยีการศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม 

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เฉลยแบบทดสอบ

เฉลย
ดาวน์โหลดคลิกที่นี่

แบบทดสอบ

 แบบทดสอบ เรื่องการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม (10 คะแนน)

1.เลนส์ขนาดใดที่มีมุมรับภาพใกล้เคียงกับสายตามนุษย์  
  ก. 50มม.                             ข. 75มม.
  ค. 100มม.                           ง. 35 มม.

2.การถ่ายภาพใช้ความเร็วชัตเตอร์1/1000วินาทีได้ภาพเช่นไร
ก. ภาพหยุดการเคลื่อนไหว   ข. ภาพแสดงการเคลื่อนไหว
ค. ภาพชัดลึก                         ง. ภาพ ชัดตื้น

3.F-Stop ใช้เรียกกับอะไร
ก. รูรับแสง (Aperture)    ข.ค่าความไวแสง
ค. Shutter (ชัตเตอร์)        ง.การใส่ฟิล์ม

4.ขั้นตอนในการถ่ายภาพมีกี่ขั้นตอน
ก.2                   ข.4
ค.6                   ง.8

 5. Shutter (ชัตเตอร์) คืออะไร
ก.ส่วนที่ปิดแสงที่เข้าจาก Lens ก่อนตกกระทบฟิล์ม    ข.การปรับระยะชัด
ค.ค่าความไวแสง                                                           ง.ไม่มีข้อใดถูก

6.ความไวแสงของฟิล์ม (ISO)ขึ้นอยู่กับอะไร
ก.เลนส์                        ข.กล้อง
ค.ฟิล์ม                         ง.ท่าถือกล้อง

7.ภาพที่มีลักษณะชัดเฉพาะด้านหน้าเรียกว่า ?

ก. ภาพชัดลึก                   ข. ภาพชัดตื้น
ค. ภาพชัดกลาง                ง. ถูกทุกข้อ

8.การใช้รูรับแสงขนาด F16 จะได้ภาพถ่ายออกมาเช่นไร
ก. ภาพชัดตื้น                 ข. ภาพชัดกลาง
ค. ภาพชัดลึก                  ง. ถูกทุกข้อ

9.การถ่ายภาพชัดลึกเหมาะสำหรับ
ก. การถ่ายภาพวัตถุทรงเลขาคณิต        ข. ภาพบุคคลเดี่ยว 
ค. ภาพบุคคลกลุ่ม                                 ง. ภาพทิวทัศน์

10.การถ่ายภาพที่ดี ควรคำนึงถึง การจัดภาพเพื่อการถ่าย เช่น
ก. องค์ประกอบของภาพ        ข. สมดุลย์ของภาพ
ค. จุดเน้นของภาพ                   ง. ถูกทุกข้อ 

แหล่งที่มา

http://www.tum.in.th/Photography/page64/page64.html
http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04091202/photo/work.html
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/general_knowledge_about_the_shooting/12.html
http://www.l3nr.org/posts/295627
http://www.tourdoi.com/general/camera/basic.htm

วีดีโอสอนใส่ฟิล์ม



วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างภาพจากกล้องฟิล์ม


Yashica Electro 35 GX / Kodak Pro Image 100

Yashica Electro 35 GX / Kodak Pro Image 100

Yashica Electro 35 GX / Kodak Color Plus 200

Yashica Electro 35 GX / Kodak Pro Image 100

Yashica Electro 35 GX / Kodak Pro Image 100

การใช้กล้องถ่ายภาพและการการตั้งค่าความไวแสงของฟิล์ม (ISO)

         หลังจากที่ได้ศึกษา เกี่ยวกับอุปกรณ์ในการถ่ายภาพมาแล้ว  ในบทนี้จะพูดถึง การใช้กล้องถ่ายภาพ โดยเริ่มต้นจาก

         1. การบรรจุฟิล์ม
  เพื่อให้กล้องพร้อมที่จะใช้งาน ผู้ใช้ต้องศึกษาจากคู่มือของ กล้องอย่างละเอียด เพราะ กล้องแต่ละชนิดแต่ละรุ่นจะมีกลไกในการทำงานไม่เหมือนกันแต่กล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว       โดยทั่วไป แล้วจะ ไม่แตกต่างกันเท่าใดนักโดยมีขั้นตอนการบรรจุฟิล์มและการตรวจสอบเป็นขั้นตอน ดังนี้
   1.  เปิดฝาหลังกล้องและดึงก้านกรอฟิล์มกลับขึ้นจนสุดและวางกลักฟิล์มให้เข้า  กับช่องใส่กลักฟิล์ม ระวังอย่าให้นิ้วหรือหางฟิล์มกระทบกับม่านชัตเตอร์ เป็นอันขาด
2. ดึงหางฟิล์มออกจากกลัก และสอดปลายของหางฟิล์มเข้ากับแกนหมุนฟิล์ม ให้แน่นและให้รูหนามของกล้องเข้ากับรูหนามเตยของฟิล์มให้สนิท
3.  ปิดฝาหลังกล้องทดลองขึ้นฟิล์มและกดชัตเตอร์ประมาณ 2 ภาพ  (เพราะเป็นส่วนหัวฟิล์มที่โดนแสงแล้ว)ตรวจสอบความเรียบร้อยของฟิล์ม โดยหมุนก้านกรอฟิล์มกลับให้ตึง เมื่อขึ้นฟิล์มก้านกรอฟิล์มกลับจะหมุนตาม แสดงว่ากล้องถ่ายภาพพร้อมที่จะใช้งานได้แล้ว

หมายเหตุ กล้องถ่ายภาพบางรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้องที่ถ่ายภาพระบบอัตโนมัติจะมีกลไกในการบรรจุฟิล์มที่สะดวกขึ้น ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้กล้องถ่ายภาพชนิดนั้น ๆ

    2. การตั้งค่าความไวแสงของฟิล์ม (ISO)
           ฟิล์มที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะมีค่าความไวแสงที่แตกต่างกันตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อน การถ่ายภาพควรต้องตรวจสอบว่าฟิล์มที่ใช้มีความไวแสงเท่าใด โดยดูได้จากกล่องของฟิล์มและที่ม้วนของ   ฟิล์ม หากกำหนดค่าความไวแสงของฟิล์ม ผิดพลาดจะทำการวัดแสงผิดพลาดด้วย จะทำให้ภาพที่ได้อาจจะ มืดหรือสว่างเกินไปก็เป็นได้
           ในกล้องถ่ายภาพ 35 มม.สะท้อนเลนส์เดี่ยวโดยทั่วไปจะมีปุ่มปรับค่าความไวแสงไว้ที่ด้านบนของตัว กล้อง ซึ่งมีตัวเลขแสดงค่าความไวแสงขนาดต่าง ๆ ไว้ ผู้ใช้ต้องปรับให้ค่าความไวแสงให้ถูกต้อง ซึ่งกล้อง แต่ละรุ่นจะมีวิธีการไม่เหมือนกันซึ่งต้องดูรายละเอียดจากคู่มือการใช้กล้องชนิดนั้น ๆ
          ในกล้องถ่ายภาพบางรุ่นจะมีระบบปรับค่าความไวแสงเองโดยอัตโนมัติโดยตัวกล้องจะมีปุ่มสำหรับอ่านค่า
ความไวแสงจากรหัสที่กลักฟิล์มดังนั้นเวลาจับกลักฟิล์มต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของมือเพราะอาจจะทำ ให้รหัสของฟิล์มมีรอยหรือมีคราบสกปรกจะทำให้การวัดแสงผิดพลาดไปด้วย

การตั้งค่าความไวแสงของฟิล์มที่ตัวกล้อง ให้ตรงกับค่าความไวแสง ของฟิล์มเพื่อป้องกันไม่ให้วัดแสงผิดพลาด

การถ่ายภาพพื้นฐาน

     Shutter (ชัตเตอร์) คือส่วนที่ปิดแสงที่เข้าจาก Lens ก่อนตกกระทบฟิล์ม หรือตัวเซ็นเซอร์ในกล้อง Digital
ชัตเตอร์มีความเร็วหลายแบบ แล้วแต่กล้อง โดยปกติแล้ว จะไล่เรียงประมาณนี้ s ย่อมาจาก Second หรือวินาที
B, 30s, 15s, 8s, 4s, 2s, 1s, 1/2s, 1/4s, 1/8s, 1/15s, 1/30s, 1/60s, 1/125s, 1/250s, 1/500s, 1/1000s, 1/2000s, etc.
ช่วงห่างแต่ละช่วงความเร็ว เราเรียกหน่วยของมันว่า Stop (สต็อป) หลายกล้องจะมีหน่วยย่อยๆ กว่านี้ ก็จะเป็นเศษส่วนของ Stop ครับ
B ย่อมาจาก Bulb เป็นความสามารถที่จะเปิด Shutter ค้างไว้ นานจนกว่าเราจะพอใจ แล้วค่อยปล่อยปุ่ม
ส่วนค่าตัวเลขที่เหลือ ก็เป็นความเร็วเรียงจากช้าไปเร็ว ตั้งแต่ 30 วินาที ไปจนถึง 1 ส่วน 2000 วินาที หรือเร็วได้มากกว่านั้นในกล้องอีกหลายๆ รุ่น

                • รูรับแสง (Aperture) เป็นอีกส่วนสำคัญของการถ่ายภาพ เพราะส่งผลหลายอย่างให้กับภาพ รายละเอียดจะมาเขียนในบทต่อๆ ไป
รูรับแสง ก็มักจะมีหลายค่า เช่น
 1.4, 2.8, 4, 5.6, 8, 11, 16, 22, etc.
ช่วงห่างแต่ละช่วง นับเป็น Stop เช่นกัน ส่วนรูรับแสงนี้ มักจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเลนส์ ว่าตัวนี้ รูรับแสงกว้างสุดที่ 2.8 ตัวนี้กว้างสุดที่ 4
แล้วเรามักจะเรียกมันในอีกชื่อว่า F-Stop ครับ

                •
 ISO หรือค่าความไวแสงของฟิล์ม ในกล้อง D-SLR ที่ไม่ได้ใช้ Film แล้ว แต่ก็ยังมีค่า ISO อยู่ครับ
ค่า ISO ก็จะแตกต่างกันประมาณนี้
25, 50, 100, 200, 400, 800, 1600, 3200, etc.
ช่วงห่างของ ISO เราก็นับเป็น Stop เหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ฟิล์มแล้ว แต่ค่า ISO ก็ยังมีผลต่อภาพถ่ายเช่นกัน
 

           ในกล้องถ่ายภาพบางรุ่นจะมีระบบปรับค่าความไวแสงเองโดยอัตโนมัติโดยตัวกล้องจะมีปุ่มสำหรับอ่านค่า
ความไวแสงจากรหัสที่กลักฟิล์มดังนั้นเวลาจับกลักฟิล์มต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของมือเพราะอาจจะทำ ให้รหัสของฟิล์มมีรอยหรือมีคราบสกปรกจะทำให้การวัดแสงผิดพลาดไปด้วย
      
              วิธีการถ่ายภาพ
            1 การปรับระยะชัด (Fucusing)
                สิ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพ คือการปรับระยะชัดหรือระยะโฟกัสจะช่วยให้ภาพที่ได้มีความคมชัด สำหรับกล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวสามารถมองผ่านช่องมองภาพได้ โดยปรับความคมชัดจากวงแหวน ปรับระยะชัดที่เลนส์ โดยภาพที่ปรากฏผ่านช่องมองภาพจะเป็นภาพจริง ดังนั้นผู้ถ่ายภาพควร ต้องคำนึงถึง วัตถุที่ต้องการเน้นให้มีความชัดเจนมากที่สุด ที่กระบอกเลนส์จะมีค่าแสดงตัวเลขบอก ระยะทางจากตัวกล้อง ไปจนถึงวัตถุที่ปรับระยะชัด ช่วงระยะในการชัดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง ยิ่งแคบมากยิ่งทำ    ให้ ระยะชัดลึกมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเปิดรูรับแสงกว้างมากต้องระวังการปรับระยะชัดให้ดีเพราะช่วงชัดลึก    จะสั้น หรือเลนส์ยิ่งมีความยาวโฟกัสมากเท่าใดความชัดลึกย่อมมีน้อยตามไปด้วย ดังนั้นผู้ใช้ต้องทำความ      เข้าใจ ในเรื่องนี้และฝึกการปรับระยะชัดให้แม่นยำและรวดเร็ว
              ในปัจจุบันกล้องบางรุ่นจะมีระบบปรับความชัดอัตโนมัติ (Auto focus) ซึ่งต้องศึกษาการใช้งาน จากคู่มือของกล้องรุ่นนั้นให้ดี เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการถ่ายภาพ



 ภาพแสดงวงแหวนปรับระยะชัด พร้อมทั้งตัวเลขบอกระยะชัด
         3.2 การกำหนดความเร็วชัตเตอร์
                  การกำหนดความเร็วชัตเตอร์เป็นความจำเป็นอีกประการหนึ่งในการถ่ายภาพ เพราะจะเป็น ตัวกำหนดช่วงเวลาในการรับแสงของฟิล์ม ซึ่งที่ตัวกล้องจะมีตัวเลขแสดงค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นจำนวน       เต็ม เช่น B 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 เป็นต้น แต่ความ เป็นจริงแล้ว 1 หมายถึง กล้องจะเปิดม่านชัตเตอร์ให้แสงกระทบกับฟิล์มเป็นเวลา 1 วินาที 2 หมายถึง1/2 วินาที ไปจนถึง 1/1000 วินาที ค่าตัวเลขยิ่งสูงมากเท่าใดความเร็วยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
                 การกำหนดความเร็วชัตเตอร์จะขึ้นอยู่กับสภาพแสงและจุดประสงค์ในการถ่ายภาพเป็นสำคัญ ถ้าแสงมีความสว่างมากเช่นในตอนกลางวันช่วงเวลา 10.00 น. -14.00 น. ในวันที่ฟ้าสดใสไม่มีเมฆ หรือหมอกมาบังจะสามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้สูง เช่น 1/250 1/500 หรือ 1/1000 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกำหนดรูรับแสงด้วยซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพควรตั้งความเร็วชัตเตอร์   สูงไว้ คือ ตั้งแต่ 1/125 ขึ้นไปจะช่วยป้องกันปัญหากล้องสั่นไหว จะส่งผลให้ภาพที่ได้พร่ามัว และการถ่ายภาพ วัตถุที่ไม่หยุดอยู่กับที่ เช่น การแข่งขันกีฬา ควรตั้งความเร็ว ชัตเตอร์ที่สูงด้วย เช่นกัน เพราะจะทำให้ ภาพ ที่ไห้หยุดนิ่ง (Stop action)
          3.3 การกำหนดค่ารูรับแสง
                    การกำหนดรูรับแสง เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ เพราะเป็น ตัวกำหนดปริมาณของแสงที่มากระทบกับฟิล์ม ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสงโดยมีการ กำหนดค่าตั้งแต่กว้างสุด จนถึงแคบสุด โดยแทนค่าเป็นตัวเลข ยิ่งตัวเลขมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง
                 วิธีการเพิ่ม หรือลดรูรับแสงนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแสง ค่าความไวแสงของฟิล์มและความเร็วชัตเตอร์ เป็นสำคัญ ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบเท่าใดต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลง เพื่อรักษาความสมดุลย์ของแสง การเปิดรูรับแสงนั้นจะส่งผลต่อภาพในเรื่องของระยะชัด (Depth of field) ของภาพ ในกรณีที่เปิดรูรับแสงกว้าง จะทำให้ภาพมีความชัดเฉพาะจุดหรือชัดตื้น ถ้าเปิดรูรับแสง ปานกลางถึงแคบสุดภาพ จะเพิ่มระยะชัดหรือมี ความชัดลึกมากขึ้น 
ภาพแสดงค่าตัวเลขของรูรับแสง (Aperture) 


ภาพชัดตื้น
เปิดรูรับแสง F 1.4 ความเร็วชัตเตอร์ 1/500


ภาพชัดลึก
เปิดรูรับแสง F 22 ความเร็วชัตเตอร์ 1/60




            การวัดแสง
              หลังจากที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์กับการเปิดรูรับแสงแล้วต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องการวัดแสงเพื่อให้ได้ภาพมีความสมดุลย์ของแสงและความอิ่มตัวของสี ความเร็วชัตเตอร์และรูรับ แสงต้องมีความสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่จะสามารถปรับสภาพของการรับแสง ของกล้องได้โดยอัตโนมัติก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ถ่ายภาพต้องทำความเข้าใจคือ ลักษณะของภาพที่ต้องการ อาจต้องการภาพที่มีความชัดลึก เช่น ภาพภูมิทัศน์ ภาพงานพิธีต่าง ๆ หรือภาพที่ต้องการให้มีลักษณะชัดตื้น เพื่อเน้นเฉพาะจุด เช่น การถ่ายภาพบุคคล การถ่ายภาพวัตถุ ต่าง ๆ หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ที่สูงเพื่อหยุดภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเร็ว หรือภาพที่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า
               ภาพที่วัดแสงได้ถูกต้อง หรือ Normal จะได้ภาพที่มีความเข้มของสีถูกต้อง เหมาะสม แต่ถ้าวัดแสง ผิดพลาดคือ ให้ฟิล์มรับแสงน้อยเกินไป หรือ Under  อาจเกิดจากเปิดรูรับแสงน้อยเกินไป หรือ ใช้ความเร็ว ชัตเตอร์เร็วเกินไป ภาพจะออกมามีโทนสีดำมาก หรือที่เรียกว่า ภาพมืด  ยิ่งผิดพลาดมากเท่าใดภาพยิ่ง มืดมากเท่านั้น ส่วนภาพที่รับแสงมากเกินไป หรือ Over มีสาเหตุจากใช้รูรับแสงกว้างเกินไป หรือความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไป ทำให้ภาพที่ได้มีสีขาวมาก หรือแสงจ้ามาก ทำให้ภาพขาดความสดใสไปมาก 
              ดังนั้น ก่อนการกดชัตเตอร์  ควรศึกษาเรื่องการวัดแสงให้ถูกต้อง ศึกษาคู่มือการใช้กล้องและฟิล์มให้ดี เพราะถ้าวัดแสงผิดพลาดจะเสียทั้งเวลา เงินทอง และโอกาสที่จะได้ภาพดีดีไปอย่างน่าเสียดาย

สรุปขั้นตอนในการถ่ายภาพ

สรุปขั้นตอนในการถ่ายภาพ
        1. บรรจุฟิล์ม
2. ตั้งความไวแสง
3. ตั้งความเร็วชัตเตอร์
4. จัดองค์ประกอบภาพ
5. วัดแสงตามวัตถุประสงค์
6.  ขึ้นฟิล์ม
7. กดชัตเตอร์
8. ถอดฟิล์ม

การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง 

การบรรจุฟิล์ม 35 ม . ม . เข้ากล้องมีขั้นตอนต้องปฏิบัติดังนี้
1.เอากลักฟิล์มออกจากกล่องพลาสติด ซึ่งกล่องพลาสติดบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษ ( ควรทำในที่ร่ม ) หัวฟิล์มที่เป็น ปากฉลามจะโผล่ออกจากกลักฟิล์ม
2.ตั้งค่าความไวแสงของฟิล์มที่ตัวกล้อง ซึ่งค่าไวแสงจะแจ้งไว้บนกล่องไว้บนกล่องฟิล์ม
3.เปิดฝาหลังกล้องถ่าย โดยดึงปุ่มหมุนฟิล์มกลับขึ้น
4.วางกลักฟิล์มลงในช่องเก็บทางซ้ายมือ โดยให้เดือยท่กลักฟิล์มชี้ลงข้างล่างกดแกนกรอฟิล์มที่ปุ่มหมุนฟิล์ม กลับลงที่เดิม
5.ดึงฟิล์มผ่านระนาบให้รูหนามเตยยึดกับเฟืองหนามเตยสอดหัวฟิล์มให้ติดแน่นกับแกนเก็บหัวฟิล์ม
6.ปิดฝากล้อง
7.หมุนที่หมุนฟิล์ม เพื่อแน่ใจว่ารูหนามเตย และเฟืองหนามเตยยึดอย่างมั่นคง
8.กดชัตเตอร์ทิ้ง 1 ครั้ง
9.หมุนแกนกรอฟิล์มกลับไปตามลูกศร เพื่อดึงฟิล์มให้ตึง

10.หมุนที่หมุนฟิล์ม และตรวจสอบดูว่าแกนหมุนฟิล์มกลับหมุนตามหรือไม่ถ้าหมุนไปด้วย แสดงว่าใส่ฟิล์มถูกต้อง
11.กดชัดเตอร์ทิ้ง 1 ครั้งและพร้อมที่ใช้กล้องถ่ายรูปได้ เลขบอกจำนวนภาพที่ถ่าย (Counter Number) จะปรากฏเป็นตัว S หรือเลข 1 ที่หน้าต่างแสดงถึงภาพเริ่มต้นส่วนกล้องเล็กอัตโนมัติบางชนิด เพียงสอดฟิล์มเข้าตัวกล้อง หลังจากเปิดฝาหลังแล้ว เมื่อปิดฝาหลังฟิล์มจะเดินไปข้างหน้าพร้อม ให้ถ่ายรูปได้ใช้ง่ายสะดวกสบายมาก

ลักษณะของฟิล์ม

ลักษณะของฟิล์ม


     ฟิล์มเป็นวัสดุปร่งใสที่ฉาบ หรือเคลือบด้วยสารเคมีจำพวกไวแสง เมื่อสมัยปีค . ศ . 1727 Johann Schulze ได้พบว่าเกลือเงินไนเตรต (Silver Nitrate) มีความไวต่อแสง หากแต่มีความไวน้อย ภายหลังมีผู้ค้นพบวัสดุไวแสง มากกว่าเงินไนเตรต คือพวกเกลือเงินเฮไลด์ (Silver Halide) เงินคลอไรด์ (Silver Cloride) เงินโบรไมด์ (Silver Bromide) และเงินไอโอไดด์ (Silver Iodide) ดังนั้นสารไวแสงที่ฉาบบนแผ่นฟิล์มในปัจจุบันจึงใช้เกลือเงินไอโอไดด์ เพราะมีความไวต่อแสงสูง เก็บรายละเอียดของวัตถุที่บันทึกได้ดี และมีความคงทนมาก

การเก็บรักษากล้องถ่ายภาพและการใช้งานและเก็บรักษาฟิล์ม

การเก็บรักษากล้องถ่ายภาพ
1.ใช้สายคล้องคอทุกครั้งที่ถ่ายภาพ
2.ห้ามใช้นิ้วมือสัมผัสผิวเลนส์ หรือม่านชัตเตอร์
3.ควรสวมฟิลเตอร์ UV หรือ Skylight ไว้ตลอด
4.ทำความสะอาดเลนส์และตัวกล้องด้วยชุดอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดโดยเฉพาะ
5.ปิดฝากล้องทุกครั้งที่ไม่ใช้งานและเก็บรักษาในกระเป๋าหรือกล่องเพื่อป้องกันการกระแทก
6.หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดกล้องอย่างสม่ำเสมอหลังจากใช้งาน โดยเฉพาะหลังจากไปทะเล
7.หลังเลิกใช้กล้อง ไม่ควรขึ้นไกชัตเตอร์หรือขึ้นฟิล์มค้างไว้ ควรเปิดหน้ากล้องไว้ที่กว้างสุด (f-number) ตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ B และตั้งระยะชัดไว้ที่อินฟินิตี้
8.เก็บกล้องไว้ในที่เย็น แห้ง และสะอาด โดยวางถุงสารดูดความชื้นไว้ใกล้ๆ ไม่ควรเก็บกล้องและอุปกรณ์ไว้ในรถยนต์หรือตู้เสื้อผ้า
9.หากมีปัญหาควรส่งช่างซ่อมที่ชำนาญ อย่าแกะซ่อมเอง

การใช้งานและเก็บรักษาฟิล์ม
1.เลือกฟิล์มที่เหมาะสมกับการใช้งาน
2.เวลาเลือกซื้อให้ดูวันหมดอายุที่กล่อง
3.เก็บฟิล์มไว้ในที่แห้งและเย็น
4.ไม่เก็บฟิล์มไว้ในกระเป๋าเดินทางที่ต้องผ่านการเอกซเรย์
5.ไม่ควรทิ้งฟิล์มไว้ในกล้องนานๆ เมื่อถ่ายเสร็จควรนำฟิล์มออกจากกล้องเลย
6.ควรจับฟิล์มที่ขอบฟิล์มเท่านั้น

ความยาวโฟกัสของเลนส์ (Focal length)

ความยาวโฟกัสของเลนส์ (Focal length)

คือ ระยะทางจากจุดศูนย์กลางโฟกัสของเลนส์ (Optical center of lens) ถึงระนาบโฟกัสของภาพหรือฟิล์ม เมื่อเลนส์ตั้งระยะความชัดไว้ไกลสุด (Infinity) โดยความยาวโฟกัสนี้มีหน่วยเป็นมิลิเมตร (มม.) เช่น เลนส์ 28 มม.เลนส์ 50 มม. เลนส์ 200 มม. เป็นต้น

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง

องค์ประกอบต่างๆ ที่ควรรู้เพื่อการใช้กล้อง


กล้อง...เป็นหัวใจของการถ่ายภาพ ดังนั้นถ้าเราต้องการถ่ายภาพให้ภาพที่ได้ออกมามีสีสรรสวยงาม เราจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้กล้องให้ถูกต้อง หวังว่าเพื่อนๆ คงมีกล้องแล้วคนละ 1 ตัว ต่างคนต่างยี่ห้อ แต่ว่าฟังชั่นการทำงานหลักๆ เหมือนกันทุกประการ ผมขอยกตัวอย่างจากกล้อง SLR แบบแมนนวล ที่ค่อนข้างจะมีปุ่มปรับที่เด่นชัด ส่วนกล้องออโตโฟกัสถึงแม้จะมีรูปทรงที่แตกต่างกันไป ปุ่มปรับต่างๆ คล้ายปุ่มเกมส์กด แต่ผลของการปรับก็เหมือนกัน เปรียบเทียบได้กับ TV รุ่นก่อนๆ ที่เปลี่ยนช่องโดยใช้วิธีการหมุนปุ่มบิด เวลาจะเปลี่ยนช่องกันทีก็ต้องหมุนปุ่มลูกบิดดังดังแป๊กๆๆ เพื่อเปลี่ยนช่อง ส่วน TV รุ่นใหม่ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนช่องโดยการกดปุ่มหรือไม่ก็ใช้กดปุ่มรีโมท ไม่ว่าจะเปลี่ยนช่องด้วยวิธีไหนผลที่ได้ออกมาก็เหมือนกันคือได้ดูในช่องที่ต้องการจะดู กล้องก็เหมือนกันมีการออกแบบให้เข้ายุคเข้าสมัยแต่จุดสุดท้ายก็ปรับไปค่าๆ เดียวกันซึ่งให้ผลการถ่ายภาพออกมาสวยงามอย่างที่ตาเห็น
ภาพเกิดจากแสงที่ตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์ม แล้วเกิดเป็นภาพต่างๆ ตามความเข้าของสี ถ้าหากแสงเข้ามากเกินไป ภาพก็จะสว่างมากจะมองไม่เห็นรายละเอียด เราเรียกว่าภาพโอเวอร์ ( over expossure )

ตัวอย่างภาพ over ( แสงมากเกินไป )
ถ้าแสงน้อยเกินไปภาพก็จะมืดสีไม่สวยงามดำๆ ไม่สวย เราเรียกว่าภาพอันเดอร์  ( under expossure )
ตัวอย่างภาพ under ( แสงน้อยเกินไป )

ตัวอย่างภาพ แสงพอดี


กล้องมีการปรับปริมาณแสงที่จะตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์มได้ 2 วิธีคือ ปรับความเร็วชัตเตอร์ และ ปรับขนาดรูรับแสง
ความเร็วชัตเตอร์   คือความเร็วในการเปิด ปิด ช่องรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการเปิดและปิดกั้นแสงที่จะเข้าไปโดนฟิล์มคือม่านชัตเตอร์ ลองเปิดฝาหลังกล้องออก ( เหมือนเวลาใส่ฟิล์ม ) แล้วลองกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นแผ่นบางๆ เคลื่อนที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน ตัวที่เคลื่อนที่ขึ้นลงเพื่อเปิดปิดกั้นแสงนี้คือม่านชัตเตอร์ ระยะเวลาสั้นๆ ในการเปิด-ปิดนั้น จึงเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์ หรือ Speed ในภาษากล้องเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง ความเร็วในการเปิดปิดแสงของม่านชัตเตอร์ Speed มีตั้งแต่ช้าจนถึงเร็ว เช่นปล่อยให้แสงเข้ากล้องเป็นเวลา 1 วินาที ,ครึ่งวินาทีหรือ ½ วินาที ,ครึ่งของครึ่งวินาทีหรือ ¼ วินาที , 1/8 วินาที ->ไปจนถึง 1/500 วินาที , 1/1000 วินาที , 1/2000 วินาที , 1/4000 วินาที และสูงสุดในปัจจุบันที่ 1/8000 วินาที หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า ถ้าเราแบ่งช่วงเวลา 1 วินาทีออกเป็น 8000 ส่วน ความเร็วขนาดนี้ไวมากเพียงเศษของ 1 ใน 8000 ส่วนนั้น เร็วจนสามารถหยุดหัวลูกปืนที่ยิงออกไปจากกระบอกปืนได้ ทั้งๆ ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ ( ถ้าคงเห็นได้หากใครยิงเราก็คงหลบทันซินะ ) วิธีการเขียนแบบเศษส่วนนี้ดูแล้วก็ชวนเวียนหัวดังนั้นจึงเขียนใหม่ให้เข้าใจง่ายๆ และใช้พื้นที่เขียนน้อย คือ 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250 , 500, 1000, 2000, 4000, 8000 และ B ( นานเท่าที่ใจเราต้องการ ) ดังนั้นเมื่อเห็นตัวเลขมากขึ้นอย่าเข้าใจว่ายิ่งช้าลง เพราะตัวเลขนั้นย่อมาจากเศษส่วนใน 1 วินาที บางรุ่นก็สามารถเปิดได้นานถึง 30 วินาที จนเร็วที่สุดถึง 1/8000 วินาที ปกติก็จะอยู่ระหว่าง 1-2000 วินาที ซึ่งเร็วเพียงพอแล้วสำหรับการถ่ายภาพแบบธรรมดา
การปรับความเร็วชัตเตอร์ กล้อง SLR แมนนวล ปรับโดยการหมุนแป้นปรับบนตัวกล้อง
***หมายเหตุ ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นละ 2 เท่า ระว่าง 1 ขั้นที่เพิ่มขึ้นเราเรียกว่า 1 stop
ม่านชัตเตอร์เปิด-ปิดช้าหรือเร็วมีผลอย่างไรต่อปริมาณแสง พูดถึงแสงอาจจะทำให้เข้าใจยากเพราะมันไม่มีปริมาณให้เราสัมผัสได้ ขอยกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายกว่าคือ น้ำ ถ้าเราใช้สายยางต่อจากก๊อกน้ำแล้วรองใส่ถัง ถ้าเราเปิดก๊อกนาน 1 วินาที ย่อมมีน้ำน้อยกว่าการเปิดก๊อกนาน 30 วินาที แสงก็เช่นเดียวกัน ถ้าเปิดให้แสงผ่านนานๆ แสงก็จะไปสะสมบนแผ่นฟิล์มมาก
ถ้าหากเราต้องการปริมาณน้ำมากๆ แต่ก๊อกน้ำเราเล็ก เราก็คงต้องเสียเวลารอนานจนกว่าน้ำจะมีปริมาณตามที่เราต้องการ แล้วยิ่งถูกกำหนดไว้ด้วยว่าห้ามเปิดนานเกินช่วงเวลาที่กำหนด เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้น้ำมีปริมาณเพียงพอในเวลาที่จำกัดไว้ นั่นก็คือเปลี่ยนก๊อกน้ำให้ใหญ่ขึ้น ยิ่งใหญ่น้ำยิ่งไหลมากขึ้นเต็มถังเร็วขึ้น ขนาดของก๊อกก็เปรียบเสมือน ขนาดของรูรับแสง
รูรับแสง
ขนาดของช่องที่ปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปในเลนส์เพื่อรอการเปิดม่านชัตเตอร์ปล่อยให้แสงตกลงบนแผ่นฟิล์ม คือ ขนาดรูรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการปรับขนาดความโตของรูที่แสงจะผ่านคือกลีบแผ่นโลหะในกระบอกเลนส์ มีลักษณะเป็นแผ่นพระจันทร์เสี้ยวหลายๆ แผ่นวางเหลื่อมล้ำกัน เมื่อเราปรับขนาดตัวเลขบนกระบอกเลนส์ ( เลนส์แมนนวล ไม่ใช่เลนส์ออโตโฟกัสนะ ) ก็จะทำให้ระบบกลไกลไปกดไปดันให้แผ่นที่ว่านั้นเปิดเป็นช่องเล็กๆ ทำให้แสงผ่านไปได้ ถ้าหากมีกล้องอยู่ในมือให้ลองเปิดฝาหลังออก แล้วปรับความชัตเตอร์ไปที่ B แล้วส่องกล้องไปยังพื้นที่สว่างๆ แล้วกดปุ่มถ่ายภาพ จะเห็นช่องรับแสงที่เราปรับไว้ ขนาดดูรับแสงมีขนาดต่างๆ ดังนี้คือ f 1.4 , 1.8 , 2.0 , 3.5, 4.5 , 5.6 , 8, 11, 16, 22 ตัวเลขดังกล่าวอาจจะทำให้สับสน ตัวเลขดังกว่ายิ่งมีค่ามากรูรับแสงยิ่งแคบ จากตัวเลขทั้งหมดนี้ f1.4 มีขนาดช่องรับแสงที่กว้างที่สุด และ f22 มีขนาดแคบที่สุด เพื่อทำความเข้าใจกับขนาดรูรับแสง ลองปรับขนาดรูรับแสงบนกระบอกเลนส์แล้วกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นขนาดของรูรับแสงที่มีขนาดแตกต่างกัน
ความเร็วชัตเตอร์ก็ต้องปรับ ขนาดรูรับแสงก็ต้องปรับ แล้วจะปรับกันอย่างไร เมื่อไรจะรู้ได้ว่าแสงพอดี อ่านแล้วชักเวียนหัว ไม่ยากเลยสำหรับการปรับค่าตัวแปรทั้งสองนี้ ตัวที่จะบอกเราได้ว่าปริมาณแสงพอดีหรือยังคือ เครื่องวัดแสงในตัวกล้อง บางรุ่นที่เก่าๆ จะเป็นเข็มเคลื่อนที่ขึ้นลง ไปทางบวกแปรว่าแสงมากไป ลงมาทางลบแปรว่าแสงน้อยไป ต้องปรับให้อยู่ระหว่างกลางพอดี บางรุ่นจะแสดงเป็นไปหรี่จะบอกปริมาณแสงด้วยความความอ่อนแก่ของสี จุดกลางสุดเป็นจุดที่แสงพอดี ขึ้นไปเป็นแสงมากไป ต่ำลงมาเป็นแสงน้อยไป ลองมองแล้วสังเกตแล้วจะรู้เอง สำหรับมือใหม่ที่ถ่ายด้วยมือควรปรับความเร็วชัตเตอร์ไว้ไม่ต่ำกว่า 60 ถ้าช้ากว่านี้ เวลาถ่ายแล้วมือไม่นิ่งอาจจะทำให้ภาพไหวได้ ถ้าจำเป็นต้องถ่ายด้วยความเร็วที่ต่ำกว่านี้ควรใช้ขาตั้งกล้อง
รู้การปรับทั้งสองอย่างไปแล้ว เราก็ยังไม่สามารถถ่ายรูปได้ ก่อนอื่นเราจะต้องใส่ฟิล์มและปรับตั้งค่าความไว้แสงฟิล์มเสียก่อน
การปรับค่าความไวแสงฟิล์ม ฟิล์มที่มีขายในท้องตลาดมีคุณสมบัติในรับการแสงแต่งต่างกันตามความเหมาะสมในการใช้งาน ค่าที่ต่างกันคือค่าความไว้แสง ดังนั้นเมื่อเราใส่เราฟิล์มเราจะต้องปรับตั้งค่าความไว้แสงของกล้องให้ตรงกับค่าความไวของฟิล์ม ถ้าตั้งค่าผิดไป กล้องก็จะวัดแสงผิด ฟิล์มในท้องตลาดจะมีค่าความไวแสงดังนี้ 50, 100, 200, 400, 800 …. ฟิล์มสีที่เราใช้ถ่ายภาพทั่วไปคือ ความไว 100 หรือ ISO100 เราก็ต้องปรับค่า ISO ของกล้องให้เป็น 100 โดยการปรับปุ่มเดียวกันกับปุ่มปรับความเร็วชัตเตอร์ แต่ต้องดึงปุ่มนั้นขึ้นมาหนึ่งจังหวะแล้วหมุนเอาตามความต้องการ แต่ถ้าหากเราไม่ดึงปุ่มที่ว่านั้นขึ้นมาก็จะกลายเป็นหมุนปรับเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์
ก่อนถ่ายภาพแต่ละครั้งอย่าลืม ปรับความชัดของภาพด้วย โดยการหมุนที่กระบอกเลนส์ ของง่ายๆ ลองดูแล้วจะรู้ได้เอง

บนกระบอกเลนส์จะมีวงแหวนที่หมุนได้อยู่ 3 วง ในสุดคือ หมุนปรับขนาดรูรับแสง  วงกลางคือซูมภาพให้ได้เล็กใหญ่ตามต้องการ  วงนอกสุดคือหมุนปรับความชัดของภาพ ตัวเลขสีขาวคือระยะห่างมีหน่วยเป็นเมตร สีเหลืองมีระยะห่างเป็น ฟุต ให้ผู้ถ่ายเลือกใช้เอาเอง